welfarewillwin.website

การต่อสู้ของขบวนการแรงงาน

“ขบวนการแรงงาน” (Labor movement) คงเป็นคำที่ใครหลายคนอาจจะเคยได้ยินผ่านหูมาบ้าง แต่ไม่ได้เข้าใจถึงการมีอยู่และความสำคัญของขบวนการแรงงาน อีกทั้งหากเราย้อนกลับไปก่อนที่จะเกิดการตื่นตัวทางการเมืองที่เป็นกระแสของคนรุ่นใหม่ คำว่า “แรงงาน” หรือ “ขบวนการแรงงาน” ในสายตาของสังคมไทยดูจะเป็นเรื่องของผู้ที่มีรายได้น้อย คนที่ทำงานอยู่ในภาคอุตสาหกรรม และงานประเภทที่ต้องใช้แรงกายเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหากเราย้อนกลับไปในช่วงที่ภาคการผลิตส่วนใหญ่อยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมที่แรงงานต้องทำงาน 7 วันต่อสัปดาห์ โดนเอาเปรียบเรื่องค่าแรงจากนายทุน เด็กถูกนำไปใช้เป็นแรงงานราคาถูก และชีวิตที่ไร้สวัสดิการขั้นพื้นฐานที่ดี ฯ แต่สิ่งเหล่านี้ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปเพราะการต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมของเหล่าขบวนการแรงงานจนส่งผลมาถึงปัจจุบัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การได้หยุดงานทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ ในประเทศเยอรมันเราจะเห็นสวัสดิการของผู้ที่ทำงานในทุกภาคส่วน การเลิกงานที่ตรงเวลาโดยที่นายจ้างไม่มีสิทธิมาขู่เข็น ในประเทศแถบนอร์ดิกเราจะเห็นการมีรัฐสวัสดิการที่ถ้วนหน้าและครบวงจรผู้ที่ทำงานมีเวลาว่างพักผ่อน และได้ทำกิจกรรมอื่น ๆ หรือพัฒนาทักษะอย่างอื่นที่พวกเขาสนใจ ในส่วนของประเทศไทยมรกดที่ขบวนการแรงงานในอดีตทิ้งไว้ให้ อาทิ การนัดหยุดงานของขบวนการแรงงานหญิงของโรงงานฮาร่า เพื่อเรียกร้องสิทธิในการลาคลอด 90 วัน เป็นต้น สลับกลับมาที่ปัจจุบันเราจะเห็นขบวนการแรงงานในไทยอ่อนแอเป็นอย่างมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกระแสความคิดแบบเสรีนิยมใหม่ที่พยายามจะลดทอนความสำคัญของความเป็นแรงงาน และใส่ความคิดที่ว่าทุกคนมีอิสระที่จะเป็นนายตนเอง ทุกคนสามารถเป็นผู้ประกอบการได้ แต่สิ่งที่หลบอยู่หลังเงาของความสวยหรูของคำว่า “อิสระเสรี” เต็มไปด้วยความเสี่ยงที่ปัจเจกบุคคลต้องแบกรับ การนิยมโทษไปที่ตัวของปัจเจกบุคคล การไร้รัฐสวัสดิการที่จะมาอุ้มชูชีวิตเมื่อผู้คนล้มลงจากความไม่มั่นคงของโครงสร้างทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนในประเทศที่ดำเนินนโยบายทางเศรฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่แบบเข้มข้นนั่นคือ “ชั่วโมงการทำงานที่พุ่งสู้ขึ้น” แต่คุณภาพชีวิตกลับแย่ลง บริษัทเอกชนหลายแหล่งพนักงานต้องทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ หรือทำงานนอกเวลามงานมากขึ้น ฉะนั้นคงถึงเวลาแล้วที่เราต้องกลับมาทบทวนบทบาทความสำคัญของขบวนการแรงงาน […]

การต่อสู้ของขบวนการแรงงาน Read More »

ความสำคัญของรัฐสวัสดิการ

ในยุคที่ประเทศไทยคุณภาพชีวิตและความมั่นคงของประชาชนในประเทศค่อย ๆ ถดถอยลงเรื่อย ๆ แต่รัฐบาลกลับไม่คิดให้ความสำคัญที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจัง ทิ้งให้ประชาชนต้องแบกรับภาระที่เกิดจากพิษของเศรษฐกิจและโรคระบาด แต่กลับไปออกนโยบายอุ้มชูเหล่าธุรกิจผูกขาดรายใหญ่ ละเลยคุณภาพชีวิตของคนอีก 99 % ที่เป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างแท้จริง โดยสิ่งที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาความทุกข์ยาก ความไม่มั่นคงของชีวิตคนในประเทศได้นั่นคือ การมีรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในประเทศ ทำให้ชีวิตมีความมั่นคงตั้งแต่เกิดยันสิ้นสุดชีวิต มีเบี้ยเลี้ยงตั้งแต่คลอดจนชรา บริการสาธารณที่มีคุณภาพและทั่วถึง ศักยภาพของผู้คนจะเพิ่มสูงขึ้นเพราะสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพได้ทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกชนชั้นหรือแบ่งแยกโรงเรียนรวย – จน อีกทั้งเราทุกคนสามารถมีชีวิตที่เลือกได้ไม่ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของตลาดแรงงาน ช่วยลดสภาวะความตึงเครียดที่เกิดจากแบกรับภาระทางเศรฐกิจโดยรัฐจะเข้ามาเป็นผู้ช่วยเหลือ ซึ่งแน่นอนว่าเงินที่จะต้องมาจัดทำรัฐสวัสดิการนั้นมาจากภาษีของทุกคนในประเทศไม่ว่าจะรวย – จน แต่สิ่งที่สำคัญคือการจัดทำสวัสดิการอย่างเป็นสัดส่วนและทำให้เกิดคุณภาพสูงสุดต่อผู้คนในประเทศ สำคัญที่สุดคือต้องตรวจสอบได้ว่าภาษีที่จ่ายไปนั้นรัฐนำไปใช้ทำอะไรให้ประชาชนบ้าง อีกอย่างที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การมีประชาธิปไตย เพราะรัฐสวัสดิการนั้นเกิดจากความต้องการของประชาชนที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หาใช่ความสงสารจากชนชั้นปกครองหรือเหล่านายทุนที่ยอมจ่ายภาษีแพ้ ผู้คน 99 % ของประเทศจะเป็นผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายรัฐสวัสดิการ ควรกล่าวด้วยว่าถึงแม้หลายประเทศที่เจริญแล้วจะมีความเป็นประชาธิปไตย (ในทางการเมือง) แต่ทุกประเทศหาได้มีรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้า อย่างเช่น อเมริกา ญี่ปุ่น ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปที่ดำเนินนโยบานทางเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ หรือแม้แต่ประเทศไทยเองก็ตาม จะเห็นได้ว่าประเทศเหล่านี้มีความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นที่สูง ระยะห่างของรายได้ของผู้คนถ่างออกแบบก้าวกระโดด กลับกันในกลุ่มประเทศยุโรปเหนือหรือนอร์ดิกคุณภาพชีวิตและความสุขของผู้คนในประเทศเหล่านั้นกลับอยู่อันดับต้น ๆ ของโลก รวมไปถึงความเหลื่อล้ำของรายได้ที่มีช่องว่างน้อยเป็นอย่างมาก แต่นั่นไม่ใช่เพราะประเทศกลุ่มนี้เป็นประเทศที่รวยหรือพัฒนาแล้วจึงมีรัฐสวัสดิการได้ทำให้คุณชีวิตของผู้คนดี แต่สิ่งทำให้ประเทศเหล่านี้มีรัฐสวัสดิการได้คือ การมีความเชื่อร่วมกันของคนในประเทศว่าการมีรัฐสวัสดิการที่ดีนั้นเป็นเรื่องของสิทธิที่ทุกคนควรจะได้รับคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุขกับการมีชีวิต

ความสำคัญของรัฐสวัสดิการ Read More »

เด็กจบใหม่กับชีวิตหลังพ้นรั้วมหาลัยในประเทศที่ไร้รัฐสวัสดิการ

ในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมาคงจะเป็นช่วงที่นักศึกษาจบใหม่หลายคนรอคอยนั่นคือ “การรับปริญญา” ซึ่งก็ถือว่าเป็นหนึ่งในสัญญะบางอย่างสำหรับการจบการศึกษาอย่างเป็นทางการ และที่กล่าวไปว่าเป็นการ “รอคอย” ไม่ได้ถึงหมายการเข้าพิธีมอบปริญญาบัตรเพราะนั่นไม่ใช่เป้าหมายหลักของการมารับปริญญาอีกต่อไป ทุกคนที่มาร่วมงานต่างก็มาเพื่อแสดงความยินดีกับผู้ที่เรียนจบ แสดงความคิดถึงต่อเพื่อนร่วมรุ่น และกลับมารวมตัวกันอีกครั้งหลังจากที่ต้องแยกย้ายกันไปเผชิญชีวิตอันเลวร้ายในวัยทำงานภายใต้เงื่อนไขของตลาด-เสรี(?) ซึ่งไม่ได้มีเวลามาพบปะกับมิตรสหายเหมือนในสมัยเรียน มาถึงตรงนี้ใครหลายคนที่เพิ่งเรียนจบมาหมาด ๆ และกำลังเข้าสู่ตลาดแรงงาน หรือได้เข้าสู่ตลาดแรงงานแล้วอาจจะได้กลิ่นและเห็นภาพของตัวเองที่ไร้ความมั่นคงและกำลังเผชิญกับเงื่อนไขต่าง ๆ ของตลาดแรงงานแบบเสรีนิยมใหม่ เช่น สัญญาจ้างงานระยะสั้น ช่วงทดลองงานที่ถูกใช้งานเกินหน้าที่ของตำแหน่งที่ตนได้ยืนสมัครเข้าไป และข้ออ้างอีกสารพัดของบริษัทนายจ้างที่พร้อมจะใช้งานลูกจ้างให้ได้มากที่สุดและลดต้นทุนที่ตนต้องแบกรับให้เหลือน้อยที่สุด โดยไม่ได้คำนึงถึงสภาพจิตใจและร่างกายของผู้ถูกจ้าง อีกกรณีหนึ่งที่สามารถพบเจอได้คือ การเปลี่ยนงานทำที่บ่อยของคนรุ่นใหม่ในแง่หนึ่งอาจจะมองได้ว่านี่เป็นเสรีภาพในการเลือกงานทำหรือหางานที่เหมาะสมกับตนเอง แต่ความเป็นจริงที่ใครหลายคนต้องเผชิญคือ นี่ไม่ใช่เสรีภาพที่แท้จริงแต่นี่คือการไร้ตัวเลือก เพราะเมื่อเด็กจบใหม่เข้าสู่ตลาดแรงงานพวกเขาจะไร้อำนาจในการต่อรองกับนายจ้างทันที หรือบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่าที่จริงแล้วตนนั้นสามารถรวมตัวต่อรองกับนายจ้างได้ ทางเดียวที่ตลาดแรงงานเสรีมอบให้พวกเขาเพื่อจะสามารถหนีออกจากการโดนเอาเปรียบและขูดรีดได้คือ การลาออกไปหางานใหม่ที่คาดหวังว่าจะดีกว่าที่เดิม ซึ่งก็ไม่ได้มีอะไรมาเป็นตัวการันตีว่าที่ทำงานใหม่จะดีกว่าที่เก่า จะเห็นได้ว่าสภาวะที่คนรุ่นใหม่กำลังเผชิญนั้นคือ การเป็น “แรงงานเสี่ยง” โดยลักษณะของความเสี่ยงที่ต้องเผชิญมีอยู่ 4 แบบ ได้แก่ 1.งานที่ไม่มั่นคงในเรื่องของสัญญาจ้าง รวมไปถึงเวลาการทำงานที่มาสามารถคาดเดาได้ 2.งานที่ทำค่าจ้างต่ำ หรือไม่มีโอกาสในการยกระดับค่าแรง 3.การฝึกงานที่ไร้ค่าแรง และไม่ได้การรับรองจากกฎหมายแรงงานหากถูกนายจ้างเอาเปรียบ 4.ขาดอำนาจในการต่อรองหรือความไม่มีเสถียรภาพของสหภาพแรงงาน ต้องเท้าความกลับไปด้วยว่าสาเหตุที่เกิดงานเสี่ยงหรือกลายเป็นแรงงานเสี่ยง ไม่ใช่เหตุบังเอิญแต่เป็นความจงใจทางการเมืองของกลุ่มชนชั้นนำทางการเมืองและเศรษฐกิจที่มีผลประโยชน์ร่วมกันทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ โดยตั้งแต่ทศวรรษ 1970 ที่มีการทำลายรัฐสวัสดิการในประเทศแถบยุโรป โดยถูกแทนทที่ด้วยแนวคิดเสรีนิยมใหม่ที่เปิดให้กลุ่มทุนมีอำนาจในการตัดสินใจอย่างอิสระ ปรับเปลี่ยนกฎหมายให้สหภาพแรรงานมีอำนาจในการต่อรองกับนายจ้างและรัฐน้อยลง จนในที่สุดในบางประเทศสหภาพแรงงานถูกทำให้หายไป เราจะเห็นสภาพสะท้อนนี้ได้ชัดในประเทศไทยที่ไร้ทั้งรัฐสวัสดิการ

เด็กจบใหม่กับชีวิตหลังพ้นรั้วมหาลัยในประเทศที่ไร้รัฐสวัสดิการ Read More »